วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเกิดภูเขาไฟ

การเกิดภูเขาไฟ


             ภูเขาไฟ   -->  หินหนืดในชั้นแมนเทิลดันตัวขึ้นมาตามรอยแยกของเปลือกโลกโดยมีแรงประทุระเบิดขึ้น
ภูเขาไฟ       เกิดจากการที่หินหนืดในชั้นแมนแทิลมีอุณหภูมิและความดันสูงมากจึงพยายามดันและแทรกตัวตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงประทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น หินหนืดที่ออกจากปล่องภูเขาไฟเรียกว่า ลาวา (LAVA) ถ้าหินหนืดยังไม่ออกสู่พื้นผิวโลก เราเรียกว่า แมกมา(Magma) การระเบิดของภูเขาไฟนอกจากจะมีหินหนืดแล้ว ยังมีเถ้าถ่าน ฝุ่นละออง ไอน้ำ เศษหินและก๊าซต่าง ๆ จะล่องลอยในท้องฟ้า ทำให้ท้องฟ้ามืดมัวเป็นหมอกดำ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นต้นนักธรณีวิทยาพบว่า ก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดมักจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเสมอ เพราะบริเวณนั้นมีรอยแตกหรือรอยแยกของชั้นหิน เมื่อได้รับแรงดันจากหินหนืดจึงทำให้ชั้นหินบริเวณนั้นเคลื่อนไหวได้นอกจากนี้ภายหลังภูเขาไฟระเบิดแล้ว ก็มักจะมีแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะ เกิดจากการปรับตัวระหว่างหินหนืดกับชั้นหินบริเวณข้างเคียง

ธรรมชาติทำให้แผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

โครงสร้างเนื้อหา

ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเนเจอร์
แผ่นเปลือกโลกและการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
การเกิดแผ่นดินไหว
การเกิดภูเขาไฟ
การเกิดภูเขา
การกร่อน
-   การกร่อนจากกระแสน้ำ       การกร่อนจากปฏิกิริยาเคมี      การกร่อนจากอุณหภูมิ    การกร่อนจากแรงโน้มถ่วง
การกร่อนจากกระแสลม
ความคิดรวบยอดของเนื้อหา
ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป
         ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าชี้บ่งว่ามีแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่นและแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก ๆ อีกหลายแผ่น ซึ่งไม่อยู่นิ่ง แต่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาอย่างช้า ๆการไหลวนของหินหนืดในชั้นแมนเทิล เพราะได้รับความร้อนจากแก่นโลก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ได้
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอาจมีผลทำให้บางทวีปเคลื่อนห่างจากกันมากขึ้น และในบางกรณีแผ่นเปลือกโลกอาจเข้าไปชนกันเกิดเป็นภูเขาสูง หรือบางกรณีแผ่นเปลือกโลกอาจมุดตัวเข้าไปสู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกหินหนืดที่ถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น เรียกว่าภูเขาไฟ ซึ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก  ภูเขาเกิดขึ้นได้หลายกระบวนการซึ่งใช้เวลานานมาก เช่น อาจเกิดจาการชนกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การยกตัวขึ้นของพื้นทวีปการกร่อนอาจมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ กระแสลม ปฏิกิริยาเคมีตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดผลต่าง ๆ ทั้งการทับถมของตะกอน การเกิดหินงอก หินย้อย
         เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2163 อัลเฟรด เวเนเจอร์ (Alfred Wegener) ได้เสนอ ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป (Continental Drift Theory) มีใจความว่า เมื่อประมาณ 220 ล้านปีมาแล้วโลกของเรามีพื้นทวีปใหญ่เพียงทวีปเดียวเท่านั้น เรียกว่าแพงกีอา” (Pangaea) ซึ่งแปลว่า “All Land” หรือแผ่นดินทั้งหมดแต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็เริ่มขยับเคลื่อนที่แยกออกจากกัน จนปรากฎเป็นทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบัน
อัลเฟรด เวเนเจอร์ ได้อ้างหลักฐานที่เป็นข้อมูลสนับสนุนทฤษฎีของเขาไว้ดังนี้
       หลักฐานสภาพรูปร่างของทวีป จากรูปร่างของทวีปต่าง ๆ ที่สวมเข้ากันได้อย่างพอเหมาะ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้กับทวีปแอฟริกา
หลักฐานสิ่งมีชีวิต จากการพบสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ชนิดเดียวกันที่อยู่ในแถบทวีปทั้ง 2 ที่อยู่ด้านเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เป็นการแสดงว่าเดิมทวีป 2 ทวีปนี้เคยเชื่อมติดกันมาก่อน
หลักฐานการเคลื่อนที่ของเกาะกรีนแลนด์ ในสมัยนั้นนักธรณีวิทยาได้ศึกษาพบว่า เกาะกรีนแลนด์กำลังเคลื่อนที่ อัลเฟรด เวเนเจอร์จึงได้อ้างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าสอดคล้องกับทฤษฎีของเขา
        ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าชี้บ่งว่ามีแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่นและแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก ๆ อีกหลายแผ่น ซึ่งไม่อยู่นิ่ง แต่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาอย่างช้า ๆการไหลวนของหินหนืดในชั้นแมนเทิล เพราะได้รับความร้อนจากแก่นโลกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอาจมีผลทำให้บางทวีปเคลื่อนห่างจากกันมากขึ้น และในบางกรณีแผ่นเปลือกโลกอาจเข้าไปชนกันเกิดเป็นภูเขาสูง หรือบางกรณีแผ่นเปลือกโลกอาจมุดตัวเข้าไปสู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกหินหนืดที่ถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น เรียกว่าภูเขาไฟ ซึ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
         ภูเขาเกิดขึ้นได้หลายกระบวนการซึ่งใช้เวลานานมาก เช่น อาจเกิดจาการชนกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การยกตัวขึ้นของพื้นทวีปการกร่อนอาจมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ กระแสลม ปฏิกิริยาเคมีตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดผลต่าง ๆ ทั้งการทับถมของตะกอน การเกิดหินงอก หินย้อย
แผ่นดินไหว หมายถึง  แผ่นเปลือกโลกเกิดการกระทบกระแทก หรือเคลื่อนที่ไปตามแนวระดับไปยังบริเวณรอบ ๆ ในรูปของคลื่น  ซึ่งมีสาเหตุมาจาก  การที่เปลือกโลกมีการขยายตัวและหดตัวไม่สม่ำเสมอ เพราะเปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวมากกว่าผิวโลกด้านบน เนื่องจากเปลือกโลกส่วนล่างได้รับความร้อนจากหินหนืดในชั้นแมนเทิล นอกจากนี้บริเวณเปลือกโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอยู่ตลอดเวลา เมื่อเปลือกโลกมีการขยายตัวและหดตัวไม่สม่ำเสมอ ย่อมส่งผลกระทบต่อรอยแตกในชั้นหินและรอยต่อระหว่างเปลือกโลกบริเวณใดบ้างที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากกว่าบริเวณอื่น ๆ แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกจึงมีโอกาสที่จะเกิดการกระทบกระแทกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น
การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหววัดได้อย่างไร การวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวมีมาตราวัดอยู่ 2 แบบ คือ มาตราริคเตอร์ และ   มาตราเมอแคลลี่ สำหรับประเทศไทยใช้มาตราริคเตอร์
 ผลกระทบจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง ?
 1.เมื่อเกิดแผ่นดินไหวทำให้สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับความเสียหายซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิต อาจได้รับความเสียหายตามไปด้วย
2.ถนนหนทางอาจได้รับความเสียหาย3.อาจมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการเกิดแผ่นดินไหวได้